1) แผนกลยุทธ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ค.ศ. 2011 – 2020 และเป้าหมายไอจิ
Biodiversity (2011-2020) and the Aichi Biodiversity Targets) เป็นกรอบการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพระดับโลก เพื่อให้ประเทศภาคีใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนด้านความหลากหลายทางชีวภาพระดับชาติ (national biodiversity strategies and action plans : NBSAPs) โดยมี 4 เป้าประสงค์ ได้แก่
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ความหลากหลายทางชีวภาพได้รับความนิยม ถูกตระหนักถึงคุณค่า ได้รับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู รวมถึงการใช้ประโยชน์ร่วมกับการธำรงรักษาบริการจากระบบนิเวศ เพื่อผดุงพื้นพิภพที่สมบูรณ์พูนผลให้ยั่งยืน และเพื่ออำนวยผลประโยชน์ที่สำคัญยิ่งให้แก่ผู้คนทั้งปวง
2) กรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออล ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก (Kunming-Montreal Global Biodiversity Framework)
จัดทำขึ้นเพื่อให้เกิดความมุ่งมั่นของการดำเนินการในทุกระดับเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถนำไปสู่การมีชีวิตอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ภายในปี ค.ศ. 2050 เริ่มดำเนินการยกร่างในการประชุม COP 14 โดยใช้ชื่อว่า “กรอบงานความหลากหลายทางชีวภาพของโลกหลังปี ค.ศ. 2020 (Post-2020 Global Biodiversity Framework)”
แบ่งเป้าหมายการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายในปี ค.ศ. 2050 จำนวน 4 เป้าประสงค์ เพื่อให้คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาคมโลกควบคู่กับการมีธรรมชาติที่สมบูรณ์ (Living in harmony with nature) ดังนี้
เป้าประสงค์ A (Goal A) เพิ่มพูนความสมบูรณ์ให้แก่ทุกระบบนิเวศ
เป้าประสงค์ B (Goal B)ดำรงรักษาหรือเพิ่มพูนประโยชน์ที่ได้รับจากธรรมชาติ
เป้าประสงค์ C (Goal C)แบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างยุติธรรมและเท่าเทียม
เป้าประสงค์ D (Goal D) ลดช่องว่างทางการเงินและแนวทางดำเนินงานอื่น ๆ เพื่อการบรรลุวิสัยทัศน์ปี 2050
และกำหนดเป้าหมายที่ท้าทายในการปฏิบัติงานที่จะมุ่งเปลี่ยนแปลงสังคมของเรากับความหลากหลายทางชีวภาพอย่างพลิกโฉม ภายใน ปี ค.ศ. 2030 และยังสอดคล้องกับวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืน ค.ศ. 2030 ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ลดภัยคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพ |
1. จัดทำแผนความหลากหลายทางชีวภาพ |
2. ฟื้นฟูระบบนิเวศบนบก แหล่งน้ำในแผ่นดินและทะเลและชายฝั่ง อย่างน้อย 30% |
3. เพิ่มพื้นที่คุ้มครองทั้งบนบก แหล่งน้ำในแผ่นดิน ทะเลและชายฝั่งและพื้นที่ OECMs อย่างน้อย 30% |
4. การฟื้นฟูและอนุรักษ์ชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม |
5. ลดการใช้ประโยชน์ชนิดพันธุ์ในธรรมชาติ |
6. การจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน |
7. การลดผลกระทบจากมลพิษ |
8. การลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ |
กลุ่มที่ 2 การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและการแบ่งปันผลประโยชน์ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน |
9.การจัดการชนิดพันธุ์ในธรรมชาติเพื่อสร้างผลผลิต การบริการ และใช้ประโยชน์จากฐานชีวภาพอย่างยั่งยืน |
10. บริหารจัดการพื้นที่เกษตร ประมง และป่าไม้ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม |
11. ดูแล รักษาระบบนิเวศเพื่อใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน |
12. เพิ่มพื้นที่สีเขียวและพื้นที่สีฟ้าในเมือง |
13. ส่งเสริมการแบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากรพันธุกรรมอย่างยุติธรรมและเท่าเทียม |
กลุ่มที่ 3 เครื่องมือแก้ปัญหาการดำเนินงาน และกลไกผลักดันให้กลายเป็นกระแสหลัก |
14. บูรณาการความหลากหลายทางชีวภาพเข้าสู่นโยบายและกฎหมาย |
15. ติดตามการดำเนินงานของภาคธุรกิจและสถาบันการเงิน |
16. เพิ่มทางเลือกในการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม |
17. เสริมสร้างการดำเนินงานด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและกระจายคุณประโยชน์ของเทคโนโลยีชีวภาพ |
18. ขจัดแรงจูงใจและเงินอุดหนุนที่ส่งผลเสียต่อความหลากหลายทางชีวภาพ |
19. เพิ่มแหล่งเงินเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน |
20. การเสริมสร้างสมรรถนะและการถ่ายทอดเทคโนโลยี |
21. มีข้อมูลเพียงพอในการกำหนดแนวทางบริหารจัดการ |
22. สนับสนุนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม |
23. สนับสนุนสิทธิสตรีและเด็กและคำนึงถึงความเสมอภาคทางเพศในการดำเนินงาน |
แหล่งที่มาข้อมูล : https://chm-thai.onep.go.th/?page_id=3815