พิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ

ความเป็นมา

มาตรา 19 ของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพขอให้พิจารณาถึงความจำเป็นที่จะต้องมีพิธีสารเพื่อกำหนดระเบียบวิธีการที่เหมาะสมในการขนย้าย
การควบคุมดูแล และการใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม  (Living Modified Organisms: LMOs) ที่เป็นผลมาจากเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ หลังจาก
การเจรจาต่อรองเป็นหลายปี พิธีสารคาร์ตาเฮนาฯ ได้รับการรับรอง และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2546

พิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ เป็นเครื่องมือระหว่างประเทศที่มีพันธะผูกพัน (binding international instrument) มีลักษณะที่แยกส่วนแต่สัมพันธ์กับความตกลง อนุสัญญา และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งลักษณะของการแยกส่วนนี้ ทำให้มีภาคีสิทธิ และข้อกำหนดเป็นของตัวเอง และต้องมีการเจรจา
ลงนามให้สัตยาบันหรือภาคยานุวัติและมีผลบังคับใช้โดยเฉพาะในตัวเองเช่นกันโดยมีผลผูกพันเฉพาะกับประเทศที่เป็นภาคีเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หากประเทศที่ไม่ได้เป็นภาคีมีการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับประเทศภาคี จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในพิธีสารด้วย

กลไกที่สนับสนุนการดำเนินงานตามพิธีสาร ได้แก่ การประชุมสมัชชาภาคีพิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพตามอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (COP-MOP) โดยปกติจัดขึ้นทุก ๆ 2 ปี คู่ขนานไปพร้อมกันกับการประชุมสมัชชาภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ

ลักษณะ

  • เป็นเครื่องมือระหว่างประเทศที่มีพันธะผูกพัน (binding international instrument) มีลักษณะที่แยกส่วนแต่สัมพันธ์กับความตกลง อนุสัญญา และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งลักษณะของการแยกส่วนนี้ ทำให้มีภาคีสิทธิ และข้อกำหนดเป็นของตัวเอง และต้องมีการเจรจาลงนามให้สัตยาบันหรือภาคยานุวัติและมีผลบังคับใช้โดยเฉพาะในตัวเองเช่นกัน
  • มีผลผูกพันเฉพาะกับประเทศที่เป็นภาคีเท่านั้น อย่างไรก็ตามหากประเทศที่ไม่ได้เป็นภาคีมีการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับประเทศภาคี จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในพิธีสารด้วย
  • เกี่ยวข้องกับอนุสัญญาหรือสนธิสัญญาที่ให้กำเนิดและจะต้องปฏิบัติตามพันธกรณีที่กำหนดไว้ เช่น พิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพมีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพเป็นผู้ให้กำเนิด
  • อาจมีการจัดทำกลไกเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามพิธีสาร เช่น การประชุมสมัชชาภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพทำหน้าที่เป็นการประชุม สมัชชาภาคีพิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพตามอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (COP-MOP)

วัตถุประสงค์

พิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ กำหนดวัตถุประสงค์ตามแนวทางระมัดระวังล่วงหน้า (precautionary approach) ตามที่ระบุไว้ในหลักการข้อ 15 ของปฏิญญาริโอ เดอจาเนโร สาธารณรัฐบราซิล ปี พ.ศ. 2535 ว่า

  • ให้มีระดับการป้องกันที่เพียงพอในการเคลื่อนย้าย ดูแล และใช้ประโยชน์สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมอันเนื่องมาจากเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ที่อาจมีผล กระทบที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพที่ยั่งยืนอย่างปลอดภัย โดยคำนึงถึงความเสี่ยงต่อสุขอนามัยของมนุษย์
  • คำนึงถึงความเสี่ยงต่อสุขอนามัยของมนุษย์
  • ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการเคลื่อนย้ายข้ามแดน (transboundary movement)

ขอบเขต

  • ควบคุมดูแลการเคลื่อนย้ายสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมข้ามพรมแดน (transboundary movement)รวมทั้งการนำผ่าน การขนส่ง และการใช้ประโยชน์สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่มีการเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนซึ่งอาจมีผลกระทบที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลาย ทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
  • ไม่ครอบคลุมการเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่เป็นเภสัชภัณฑ์สำหรับมนุษย์

สาระสำคัญ

พิธีสารฯ กำหนดกระบวนการในการพิจารณาใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่

  • ความตกลงการแจ้งล่วงหน้า (Advance Informed Agreement-AIA) ควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามประเทศของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่มีเจตนาปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประเทศได้รับข้อมูลประกอบการตัดสินใจก่อนการเห็นชอบให้มีการนำเข้า (มาตรา 7-10)
  • กระบวนการสำหรับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่มีวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้เป็นอาหารหรืออาหารสัตว์ หรือใช้ในกระบวนการผลิต
    – กำหนดให้แจ้งการตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้ภายในประเทศ รวมถึงการวางจำหน่ายในท้องตลาด ผ่านทางกลไกการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารความปลอดภัยทางชีวภาพ (มาตรา 11)
    – กำหนดให้มีเอกสารข้อมูลกำกับชัดเจนว่า “อาจประกอบด้วย” (“may contain”) สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (มาตรา 18)
  • การประเมินความเสี่ยงและการบริหารจัดการความเสี่ยง และการใช้แนวทางระมัดระวังล่วงหน้า
    – ให้มีการประเมินความเสี่ยงบนพื้นฐานและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ก่อนการตัดสินใจ (มาตรา 15)
    – จัดทำมาตรการ กลไกในการจัดการและควบคุมความเสี่ยงเพื่อบังคับใช้ในระดับที่จำเป็น และกำหนดมาตรการให้มีการประเมิน ความเสี่ยงก่อนการปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม (มาตรา 16)

นอกจากนั้น ยังกำหนดกลไกเพื่อสนับสนุนการดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ อาทิ

  • กลไกการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารความปลอดภัยทางชีวภาพ
    – ให้มีการจัดตั้งกลไกการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารความปลอดภัยทางชีวภาพ เพื่ออำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยน และสนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลวิทยาศาสตร์ วิชาการ สิ่งแวดล้อม กฎหมาย และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง (มาตรา 20)
  • การเสริมสร้างสมรรถนะบุคลากรและองค์กรด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (มาตรา 22)
  • ประเด็นของความรับผิดและชดใช้ความเสียหาย ที่ให้มีการเจรจาเพื่อกำหนดกฎและขั้นตอนปฏิบัติที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จภายใน 4 ปี (มาตรา 27)
  • ข้อกำหนดสนับสนุนอื่นๆ อาทิ
    – ความตระหนักและการมีส่วนร่วมของสาธารณะ
    – ข้อพิจารณาด้านสังคมเศรษฐกิจ
    – กลไกและทรัพยากรทางการเงิน
    – การปฏิบัติตาม
    – การประเมินผล

ความปลอดภัยทางชีวภาพกับอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ

อนุสัญญาอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพตระหนักถึงศักยภาพของเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ในเรื่องอาหาร เกษตรกรรม และสุขภาพ ขณะเดียวกันยังได้เน้นย้ำ ถึงความจำเป็นในการกำหนดระเบียบวิธีการในการควบคุมดูแลการใช้ประโยชน์สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่เกิดจากเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่โดยให้ภาคี

  • จัดตั้งหรือธำรงรักษาวิธีการที่จะจัดระเบียบ จัดการหรือควบคุมความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์และการปลดปล่อยสิ่งมีชีวิตดัดดแปลง พันธุกรรมอันเนื่องมาจาก เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ที่อาจมีผลกระทบที่เอื้ออำนวยต่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ อย่างยั่งยืน โดยคำนึกถึงความเสี่ยงต่อสุขอนามัยของมนุษย์ (มาตรา 8 วรรค g)
  • เอื้ออำนวยและถ่ายทอดเทคโนโลยีรวมถึงเทคโนโลยีชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ อย่างยั่งยืน (มาตรา 16 วรรค 1)
  • ดำเนินมาตรการเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพและพิจารณาความจำเป็นที่จะต้องจัดทำพิธีสารเพื่อกำหนดวิธีการที่ เหมาะสม ในการแจ้งล่วงหน้ารวมถึงการเคลื่อนย้าย ดูแล และใช้ประโยชน์สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมอย่างปลอดภัย (มาตรา 19)
วัน เดือน ปีการดำเนินงาน
1-5 ตุลาคม 2555การประชุมภาคีพิธีสารฯ สมัยที่ 6 ณ เมืองไฮเดอราบาด สาธารณรัฐอินเดีย
11-15 ตุลาคม 2553การประชุมภาคีพิธีสารฯ สมัยที่ 5 ณ เมืองนาโงยา ประเทศญี่ปุ่น
12-16 พฤษภาคม 2551การประชุมภาคีพิธีสารฯ สมัยที่ 4 ณ กรุงบอนน์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
13-17 มีนาคม 2549การประชุมภาคีพิธีสารฯ สมัยที่ 3 ณ เมืองคูริติบา สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล
8 กุมภาพันธ์ 2549พิธีสารฯ มีผลบังคับใช้ให้ประเทศไทยเป็นภาคี ลำดับที่ 128(90 วัน หลังการภาคยานุวัต)
10 พฤศจิกายน 2548ประเทศไทยมอบภาคยานุวัตรสารฯ
30 พฤษภาคม – 3 มิถุนายน 2548การประชุมภาคีพิธีสารฯ สมัยที่ 2 ณ นครมอลทรีออล ประเทศแคนาดา
23-27 กุมภาพันธ์ 2547การประชุมภาคีพิธีสารฯ สมัยที่ 1 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
11 กันยายน 2546พิธีสารฯ มีผลบังคับใช้ ( 90 วัน หลังจากได้รับเอกสารการให้สัตยาบันครบ 50 ประเทศ (มาตรา 37))
15 พฤษภาคม 2543 – 4 มิถุนายน 2544เปิดให้ลงนามในการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาฯ สมัยที่ 5ณ กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา และสำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา
29 มกราคม 2543พิธีสารฯ ได้รับการรับรองในการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ วาระพิเศษ ณ นครมอลทรีออล ประเทศแคนาดา
พฤศจิกายน 2538สมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ สมัยที่ 2 มีมติให้ตั้งคณะทำงานเพื่อยกร่างพิธีสารความปลอดภัยทางชีวภาพ

ภาคีพิธีสารฯ

พิธีสารว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ ได้รับการรับรองในวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2543 และมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2546 ซึ่งเป็นเวลา 90 วันหลังจากได้รับสัตยาบันสารฉบับที่ห้าสิบ พิธีสารฯ กล่าวถึงการขนย้ายดูแลและใช้ประโยชน์อย่างปลอดภัยซึ่งสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่อาจส่งผลกระทบในทางลบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ โดยคำนึงถึง สุขภาพของมนุษย์ และเน้นเป็นพิเศษที่ประเด็นการเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดน และได้จัดทำกระบวนการสำหรับความเห็นชอบที่ได้แจ้งล่วงหน้า (Advance Informed Agreement – AIA) ในการนำเข้าสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรม โดยจงใจสู่สภาพแวดล้อมและผนวกหลักการป้องกันล่วงหน้า และกลไกการจัดการและวิเคราะห์ประเมินความเสี่ยง

ปัจจุบันมีภาคีพิธีสารฯ 173 ประเทศ (ณ เดือนมีนาคม 2567) สำหรับประเทศไทยเข้าเป็นภาคีพิธีสารฯ เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2549 ในลำดับที่ 128

แหล่งที่มาข้อมูล :
1. https://chm-thai.onep.go.th/?page_id=3823
2. https://bch.onep.go.th/?page_id=50#1695889187797-56250e3b-95da